การใช้ห้องสมุด


ใบความรู้ที่ 1
เรื่อง  ห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้                                      ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

รายวิชาการใช้ห้องสมุดเบื้องต้น  ( ท. 21203 )                             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ความหมายของห้องสมุด

 ความหมายของห้องสมุด คำว่าห้องสมุดบัญญัติมาจากคาว่า Library มาจากภาษาละตินว่า Liberia หมายถึง ที่เก็บหนังสือ โดยมีรากศัพท์เดิมว่า “Liber” ซึ่งหมายความว่า หนังสือ (ฉันทนา ชาญพานิชย์, 2532: 1) ห้องสมุด หมายถึง สถานที่เก็บรักษาผลงานทางสติปัญญาของมนุษย์ เป็นสถานที่ประกอบด้วย หนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ โสตทัศนวัสดุทุกชนิดรวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเสนอเรื่องราวอันให้สาระความรู้ ความบันเทิงและความจรรโลงใจ (นันทา วิทวุฒิศักดิ์, 2536 : 13)
ห้องสมุด (Library) คือสถานที่รวบรวม และให้บริการความรู้ ความบันเทิง และข่าวสารในรูปของสิ่งพิมพ์ และสิ่งไม่ตีพิมพ์ประเภทต่างๆโดยมีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการใช้บริการและง่ายต่อการเนินงานของบรรณารักษ์ หากนักเรียนรู้จักการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามระเบียบ มีมารยาทในการใช้ห้องสมุด และเลือกใช้บริการของห้องสมุดได้อย่างถูกวิธีจะช่วยให้นักเรียนสามารถใช้ห้องสมุดร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมและประหยัดเวลาในการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน
ความหมายของห้องสมุด ห้องสมุด (Library) คือ แหล่งสารนิเทศที่รวบรวมทรัพยากรสารนิเทศในรูปวัสดุตีพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค และวัสดุไม่ตีพิมพ์ หรือโสตทัศนวัสดุทุกประเภท โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้ดาเนินการ และบริการงานในการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และมีระเบียบ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวก และเกิดประโยชน์สูงสุด

วัตถุประสงค์ของห้องสมุด

          ห้องสมุดทุกประเภทมีวัตถุประสงค์โดยทั่วไปอยู่  5  ประการ
          1.  เพื่อการศึกษา  (Education)  คือเป็นสถานที่สำหรับการศึกษาของทุกคนโดยไม่จำกัดเพศและวัย  พื้นฐานการศึกษา  ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความพอใจทุกเวลาและทุกโอกาส
          2.  เพื่อความรู้  ( Information)  ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือสิ่งพิมพ์อื่นๆ 
และโสตทัศนวัสดุที่ให้ความรู้ข้อเท็จจริงและความเคลื่อนไหวต่างๆ  สนองแก่ผู้ใฝ่หาความรู้หรือ
มีปัญหาข้อข้องใจ
          3.  เพื่อการค้นคว้าวิจัย  (Research)  ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางของการศึกษาค้นคว้า
วิทยาการต่างๆให้ลึกซึ่งเพื่อให้ผู้ศึกษาเกิดความแตกฉานหรือเพื่อให้วิทยาการนั้นๆก้าวหน้าต่อไป
          4.  เพื่อความจรรโลงใจ (Inspiration)  ห้องสมุดเป็นที่รวบรวมหนังสือหลายประเภท 
เช่น  ศาสนา  วรรณคดี  ศิลปะซึ่งหนังสือเหล่านี้ให้ความจรรโลงใจหรือความสุขทางจิตใจแก่ผู้อ่านให้รู้สึกซาบซึ้งในสำนวนไพเราะและความดีงามในความคิดของผู้อื่นและก่อให้เกิดความบันดาลใจในทางสร้างสรรค์อันนำไปสู่ความเจริญงอกงามในจิตใจและชีวิต
5.      เพื่อสันทนาการและการพักผ่อนหย่อนใจ(Recreation)  ห้องสมุดโดยทั่วไปจะมี
หนังสือนิตยสาร  และหนังสือบันเทิงไว้ให้ผู้อ่านเพื่อความเพลิดเพลินทางจิตใจ  ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  เป็นแหล่งพักสมองให้คลายเครียด

ประโยชน์ของห้องสมุด

          ห้องสมุดเป็นแหล่งวิทยาการที่ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด  นักเรียนมีสิทธิ์เข้าไปใช้บริการได้
ประโยชน์ที่ได้รับจากห้องสมุดของเรามีมากมาย  นอกจากนี้นักเรียนได้รับความรู้จากตำราเรียนแล้วนักเรียนยังได้รับประโยชน์อื่นดังนี้
          1.  สามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที
          2.  ได้รับความรู้และมีโอกาสศึกษาความก้าวหน้าทางวิชาการอยู่เสมอ
          3.  เกิดความคิดริเริ่มใหม่ๆ  มีทัศนคติกว้างไกล
          4.  สามารถสร้างสรรค์วรรณกรรมเรื่องใหม่ๆขึ้นโดยใช้หนังสือประกอบค้นคว้าวิจัย
5.  ช่วยให้เป็นพลเมืองดีและมีความรับผิดชอบ
          6.  ใช้หนังสือให้สอดคล้องกับความต้องการของตนทั้งในด้านความรู้ความเพลิดเพลิน
          7.  ใช้ความรู้จากห้องสมุดช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าตามภาระหน้าที่ของละบุคคล
ประเภทของห้องสมุด
ห้องสมุดแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้


1. ห้องสมุดโรงเรียน (School Library) คือห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นภายในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในระดับประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา โดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมีประสิทธิภาพ ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และให้นักเรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง




2. ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (College and University Library) คือห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาได้แก่ วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย เป็นแหล่งรวบรวมตาราวิชาการ เอกสารอ้างอิงต่างๆ เพื่อให้อาจารย์ นิสิต และนักศึกษาสามารถใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และเพื่อการทำวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ









3. ห้องสมุดเฉพาะ (Special Library) คือห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นในหน่วยงานต่างๆทั้งของรัฐบาล และเอกชน เพื่อเก็บรวบรวมหนังสือ สิ่งพิมพ์ รวมทั้งโสตทัศนวัสดุต่างๆที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหน่วยงานนั้นๆ เช่น ห้องสมุดกรมบัญชีกลาง รวบรวมตารา เอกสาร วารสาร และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ของกรมบัญชีกลาง











4. ห้องสมุดประชาชน (Public Library) เป็นห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ประชาชน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ เข้าใช้บริการค้นหาความรู้ ติดตามข่าวสาร ช่วยพัฒนาประชากรให้มีความรู้ เช่น ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี ห้องสมุด ซอยพระนาง เป็นต้น







5. หอสมุดแห่งชาติ (National Library) เป็นสถานที่รวบรวมหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆที่จัดพิมพ์ขึ้นในประเทศ ต้นฉบับตัวเขียน ศิลาจารึกต่างๆ ตลอดจนโสตทัศนวัสดุ และเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สินทางปัญญาของชาติในด้านสิ่งพิมพ์ทุกประเภท เพื่อการศึกษาค้นคว้า และวิจัย ตามพ...การพิมพ์กาหนดให้ผู้ผลิตสิ่งพิมพ์มอบสิ่งพิมพ์ที่ผลิตได้ ให้เป็นสมบัติของหอสมุดแห่งชาติ






ที่มา
          ธาดาศักดิ์  วชิรปรีชาพงษ์.  ห้องสมุดและการศึกษาค้นคว้า.  กรุงเทพฯ :  โอ.เอส.พริ้นติ้ง-
                             เฮาส์,  2534.
ลมุล  รัตนากร.  การใช้ห้องสมุด.  กรุงเทพฯ :  สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย,  2522
วัญเพ็ญ  สาลีผลิน.  ห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศ.  กรุงเทพฯ :  ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ,
                             2549. 
          สันทนา  กูลรัตน์.  เอกสารประกอบการสอนรายวิชางานเทคนิคของห้องสมุด.  สุรินทร์ :   
                            คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์,  2549.
         




แบบฝึกทักษะชุดที่  2   
เรื่อง ห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อนักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์หาข้อสรุปและทำรายงานเป็นกลุ่ม ตามหัวข้อเรื่องที่กําหนดให้
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถทำงานร่วมกัน
กิจกรรม
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาค้นคว้า ช่วยกันคิด ช่วยกันวิเคราะห์ และปรึกษาหารือสรุป ทำรายงาน มีหัวข้อต่อไปนี้
   2.1 ความหมาย และความสำคัญของห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้
   2.2 วัตถุประสงค์ และประโยชน์ของห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้
   2.3 ประเภทของห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้
   2.4 ลักษณะห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้ที่ดี
3. เมื่อนักเรียนช่วยกันสรุปและทำรายงานเรียบร้อยแล้ว ให้คัดเลือกตัวแทนของกลุ่มมา รายงานหน้าชั้นเรียน พร้อมกับนำรายงาน ซึ่งเป็นผลงานของแต่ละกลุ่ม ส่งครูผู้สอน โดยระบุหน้าที่ ของแต่ละคนภายในกลุ่มที่แบ่งงานกันทำไว้อย่างชัดเจน
เป้าหมาย
1. รายงาน ซึ่งได้จากการค้นคว้าหาคำตอบและสรุปด้วยตนเองของกลุ่ม
2. พฤติกรรมในการทำงานร่วมกัน ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จของงาน
ประเด็นและเกณฑ์การประเมิน
ประเด็นการประเมิน ประเมิน รายงานและพฤติกรรมในการทำงานร่วมกัน ดังนี้
- ครอบคลุมเนื้อหา                  - ความชัดเจนในการรายงาน
- พฤติกรรมในการทำงานร่วมกัน   - ความถูกต้องของเนื้อหา
                - ความสะอาดเรียบร้อย            - การแบ่งงานกันทำ





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำอธิบายรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ม. 2